การเลือกใช้งานอินเวอร์เตอร์ |
การนำอินเวอร์เตอร์ (Inverter) มาประยุกต์ใช้งานร่วมกับมอเตอร์ (Motor) โดยความเร็วรอบของมอเตอร์ กำหนดได้จาก ความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้
1. ความถี่ (Frequency) ของแหล่งจ่ายไฟมอเตอร์
2. จำนวนขั้ว (Pole) ของมอเตอร์
3. แรงดันไฟฟ้า (Voltage) ที่จ่ายให้กับมอเตอร์
4. แรงบิด (Torque) ของโหลด
ประเด็นหลักๆที่ต้องนำมาพิจารณาการเลือกใช้งานอินเวอร์เตอร์กับมอเตอร์ พิจารณาได้ดังนี้
1. การรวมกันและเข้ากันได้ระหว่างอินเวอร์เตอร์กับมอเตอร์ เช่น ระบบไฟฟ้าที่จ่ายให้กับอินเวอร์เตอร์หรือมอเตอร์ ใช้ไฟฟ้าระบบ 3 เฟส 380 VAC, 3 เฟส 220 VAC หรือ 1 เฟส 220 VAC เป็นต้น
2. ความสามารถของอินเวอร์เตอร์ แบ่งได้ 2 ชนิด
2.1 ในระหว่างการเร่งความเร็วหรือการควบคุมความเร็วให้คงที่ จะต้องสามารถตอบสนองได้ทันทีเมื่อมีการขับมอเตอร์ โดยไม่เกินพิกัดกระแส (Overload current rate)
2.2 ในระหว่างการลดความเร็วลง จะต้องมีความสามารถในการกำจัดและยับยั้งพลังงานที่มาจากมอเตอร์ขณะลดความเร็วลง
3. กระแสพิกัดเอาท์พุทของอินเวอร์เตอร์ > กระแสพิกัดของมอเตอร์ x 1.1
|
PIC คืออะไร
มันคือ Programable Integrated Circuit โดยเป็น Processor ที่คาดว่าราคาเหมาะสม ต้องการวงจรประกอบ รอบนอกน้อย ทำความเร็วได้ประมาณ 1 uSec ต่อคำสั่งซึ่งนับว่าเร็วมาก ตัวที่น่า เริ่มต้นเรียนรู้คือเบอร์ 16F84 ซึ่งมี EEPROM อยู่ภายในสามารถ ลบด้วยไฟฟ้าได้ ราคา ประมาร 190 บาท แต่ถ้าตัวใช้งานที่ โปรแกรม ครั้งเดียวจะเหลือราคาประมาณ 100 บาท อีกทั้งยังป้องกัน การ Copy โปรแกรม ได้ด้วย บริษัทที่ผลิตคือ Microchip มี WEB site ที่บริการ App Note คือ www.microchip.com รวมถึงมีโปรแกรมต่างๆเช่น Compiler Sample Program ให้ Download นอกจากนี้ยังมี WEB link ที่ http://electronics.se-ed.com/links/elec_links.html เพื่อเชื่อมไป วงการ PIC คุณสมบัติทั่ว ๆ ไป ตัว PIC เบอร์ 16F84 CPU ใช้รูปแบบการทำงานแบบ RISC มี port ใช้งาน 2 Port คือ Port A และ Port B ทั้งหมด 12 bit ใช้งาน ซึ่งเป็นได้ทั้ง input/output แล้วแต่โปรแกรม ระบบ Address จะใช้แบบ page ซึ่งทั้งหมดจะมี 12 bit แต่ใช้ปกติจะเป็น 8 bit ที่เหลือจะเป็นการใช้เลือก page ใช้งานซึ่งการเลือกนี้ จะใช้การไปโปรแกรม bit ของ Status register
- มีคำสั่ง 33 คำสั่ง - ทุกคำสั่งใช้เวลาปฏิบัติการแบบบรานซ์ต้องใช้เวลาถึงสองไซเคิล - ความเร็วในการทำงาน : จากช่วงดีซี - สัญญาณนาฬิกาอินพุตเท่ากับ 4 เมกะเฮิรตซ์ หรือจากช่วงดีซี - ไซเคิลคำสั่งเท่ากับ 1 ไมโครวินาที - คำสั่งมีขนาดกว้าง 12 บิต - บัสข้อมูลกว้าง 8 บิต - หน่วยความจำเก็บโปรแกรมเป็นอีพรอมขนาด 12 บิต มีความจุ 512 ไบต์ ถึง 2 กิโลไบต์ - รีจิสเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาด 8 บิตมี 25 - รีจิสเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่พิเศษมี 7 ตัว - สแต็กฮาร์ดแวร์มีความลึก 4 ระดับ - มีโหมดการอ้างอิงแอดเดรสของข้อมูลและคำสั่งแบบโดยตรง, โดยอ้อมและแบบสัมพันธ์ - Port สามารถควบคุมทิศทางทำโดยการใช้ขา I/O ถึง 20 ขา - มีตัวนับเวลา/สัญญาณเวลาขนาด 8 บิต (RTCC) กับตัวตั้งค่าที่โปรแกรมได้ขนาด 8 บิต - มีตัวรีเซตกำลังไฟ (Power-on Reset) - มีตัว OAR (Oscillator Start-up Timer) - มีตัว WDT (Watchdog Timer) กับออสซิลเลเตอร์แบบ RC เพื่อใช้ในการปฏิบัติการที่เชื่อถือได้ - มีฟิวส์อีพรอมพิเศษเพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบซอร์สโค้ด - มีโหมด SLEEP ลดการสูญเสียพลังงานเมื่อไม่ได้ใช้งาน - มีออสซิลเลอเตอร์ให้เลือกใช้เพื่อกำหนดไปยังอีพรอมแบบต่าง ๆ ดังนี้
+ ออสซิลเลเตอร์แบบ RC ที่มีราคาถูก : RC
+ คริสตอล/รีโซเนเตอร์มาตรฐาน : XT
+ คริสตอล/รีโซเนเตอร์ความเร็วสูง : HS
+ คริสตอลความถี่ต่ำ, กินไฟน้อย : LP
- กินไฟต่ำ, ใช้อีพรอมแบบ CMOS ที่มีความเร็วสูง - ค่าศักดาไฟในช่วงที่ใช้งาน 2.5 โวลต์ ถึง 6.25 โวลต์ - กินไฟต่ำ - น้อยกว่า 2 มิลลิแอมป์ที่แรงดัน 5 โวลต์ ความถี่ 4 เมกเฮิรตซ์ - น้อยกว่า 15 ไมโครแอมที่แรงดัน 3 โวลต์ ความถี่ 32 กิโลเฮิรตซ์
+ ออสซิลเลเตอร์แบบ RC ที่มีราคาถูก : RC + คริสตอล/รีโซเนเตอร์มาตรฐาน : XT + คริสตอล/รีโซเนเตอร์ความเร็วสูง : HS + คริสตอลความถี่ต่ำ, กินไฟน้อย : LP
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น